วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

พลังของกฎ 4 วินาที

         การลงมือทำนั้นสำคัญที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม แต่แล้วเราก็จบลงแค่การคิด ทำไมคนส่วนใหญ่จึงได้แต่คิด เพราะอะไรการลงมือทำอะไรบางอย่างจึงดูยากเย็นแสนเข็ญ นักวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากพอสมควร หากเราอยากอ่านงานวิจัยด้านนี้ ลองค้นหาคำว่า "วิจัยด้านสมอง" มีให้อ่านมากมายก่ายกองเลยทีเดียวครับ วันนี้ผมได้อ่านเรื่องนึงที่น่าสนใจนั่นคือการ หลอกสมองเรา สมองเราจะมีความสนใจใคร่รู้และรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งใหม่เพียง 4 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นจึงมีงานเขียนหลายท่านที่บอกเราว่าถ้าเราอยากสร้างความประทับใจแรกพบให้กับใครสักคนให้ทำใน 4 วินาที จึงเป็นที่มาว่าเราต้องแต่งตัวให้ดี พูดให้ดี ยิ้ม ทำบุคลิกให้น่าประทับใจในการพบกันครั้งแรกนั่นเอง เพราะสมองเราจะตัดสินว่าเราควรจะไปต่อกับสิ่งที่เราได้สัมผัสตรงหน้านั่นหรือไม่ นั่นเอง



เพจ1องศา

กฎของ 4 วินาที ที่เราจะนำมาหลอกสมองของเราให้ลงมือทำอะไรบางอย่างให้เราทำดังนี้

1. เมื่อเราคิดไอเดียดีๆ ได้ให้รีบจด หรืออัดบันทึกเสียงเอาไว้ทันทีอย่าปล่อยให้ไอเดียต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาลอยหายไปอย่างน่าเสียดาย

2. เมื่อเรากลับมาทบทวนไอเดียที่เราทำไว้แล้วในข้อ 1 ให้นำมาแยกองค์ประกอบว่าอะไรจะช่วยให้เราลงมือทำได้ง่ายและเร็วที่สุด เช่น เราอยากอ่านหนังสือก่อนนอนวันละ 10 หน้า ให้เราหาหนังสือที่เราจะอ่านวางไว้ข้างที่นอนใกล้ตัวเราที่สุดก่อนที่จะนอน พร้อมโคมไฟที่ปิดได้ง่ายๆ หลังจากที่อ่านหนังสือเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น สิ่งที่ต้องทำสำหรับข้อนี้คือสร้างสภาพแวดล้อมให้ตัวเราเองได้ตัดสินใจทำสิ่งนั้นๆ ได้เร็วและง่ายขึ้นนั่นเอง

3. เมื่อเราทำตามไอเดียของเราได้แล้วไม่ว่าจะครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ตาม ต้องขอบคุณตัวเราเอง ยินดีกับตัวเองที่ทำได้สำเร็จในแต่ละครั้ง

4. พึงพอใจและทบทวนไอเดียที่ได้ลงมือทำไปแล้วว่าระดับความสำเร็จนั้นเพียงพอสำหรับความภาคภูมิใจเพียงใด และคิดถึง ใฝ่ถึงไอเดียใหม่ๆ ที่จะต่อยอดเพิ่มพูนสิ่งที่ทำได้แล้ว ต่อไปอย่างไรดี


เรื่องราวเหล่านี้ผมลองทดสอบกับตัวเองที่ขี้เกียจจะนั่งสมาธิตอนตื่นนอนใหม่ๆ เพราะดิดนิสัยตื่นนอนแล้วนอนต่อไปอีก ผมเฝ้าถามว่าตัวเองมีความสุขกับการนั่งสมาธิไหม คำตอบคือชัดมากว่ามีความสุขและอยากทำ แต่ก็โดนสมองหลอกเสมอว่านอนต่อสบายกว่านั่นเอง ดังนั้นทุกครั้งที่รู้สึกตัวตื่นนอนให้บิดขี้เกียจภายใน 4 วินาที หลังจากนั้นเก็บที่นอน แล้วนั่งสมาธิในที่จัดไว้ที่สามารถเดินไปถึงไม่เกิน 4 วินาทีนั่นเอง จึงทำให้เราสามารถทำกิจกรรมที่เราต้องการได้อย่างมีความสุขและน่าภาคภูมิใจ และเราก็ให้กำลังใจตัวเอง เพิ่มพูนการเจริญสมาธิในอิริยาบทต่างๆ ได้มากขึ้น และทำให้ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยช่วงเวลาของการเจริญสมาธิ และทำให้ชีวิตเรามีความสุขง่ายขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งภายนอกเพื่อสร้างความสุขมากเกินไป นี่คือสิ่งที่เราสามารถประยุกต์ #กฎ 4 วินาที ได้ทุกๆ เรื่องที่เรามีไอเดียที่จะลงมือทำ

ผมหวังว่าเรื่องราวนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกๆ คน หากนำไปใช้แล้วมีเรื่องราวน่าประทับใจนำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ


ท.จันทร์แจ่ม

ป้ายกำกับ: , , ,

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เมื่อ AEC เป็นแค่กฏกระดาษ

มาถึงวันนี้ผมยังไม่แน่ใจว่าการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศเป็นฐานผลิตร่วมกันจะสามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือแม้แต่ 10 ปีข้างหน้าก็ตามที เพราะด้วยความแตกต่างและการสร้างเงื่อนไขที่นอกเหนือจากความร่วมมือควรที่จะเป็นแล้ว ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็สงวนบางสิ่งเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ไม่ใช่การได้ประโยชน์ร่วมกัน มันก็สมควรแล้วสำหรับประเทศต่าง ๆ เพราะประเทศในกลุ่ม 10 ประเทศอาเซียนนั้นมีความแตกกันอย่างมาก ถ้าเทียบสิงคโปร์กับพม่า หรือแม้กระทั่งเทียบกับประเทศไทยเรา สิงคโปร์ก็ยังได้เปรียบในเชิงความรู้และประสบการณ์ การมีประสบการณ์ย่อมนำมาซึ่งการเอาเปรียบ ทำให้ประเทศอื่นเสียเปรียบได้ ซึ่งมุมมองแบบนี้ยังมีอยู่มากในกลุ่มอาเซียน โดยไม่ได้มองว่าเราต้องช่วยกันให้เป็นฐานผลิตร่วมกันแบบทุกคนอยู่ได้อย่างสง่างาม คนที่แข็งแรงต้องช่วยคนที่ยังอ่อนแออยู่ ควรจะเป็นความร่วมมือในแบบนี้เกิดขึ้น ความหวาดระแวงว่าประเทศอื่นจะมาแสวงหาผลประโยชน์ในประเทศของตน มันอาจไม่ใช่ทัศนคติที่ดีนัก ดังนั้นนอกจากจะให้ความรู้แก่ประชาชนในแง่ว่าจะเกิดผลได้ผลเสียอย่างไร ควรให้ความรู้และสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการรวมตัวกันให้เกิดประชาคมอาเซียนให้เป็นจริง โดยเป้าหมายของการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีลักษณะคล้ายกับ



ป้ายกำกับ:

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Korea โมเดล สินค้าออกของเกาหลีใต้

Korea โมเดล สินค้าออกของเกาหลีใต้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
มีนาคม 2555


     เมื่อนึกถึงเกาหลีใต้ในปัจจุบัน เราอาจนึกถึงละครซีรีส์ เสื้อผ้าแฟชั่นเกาหลี และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติเกาหลีที่กำลังได้รับ ความนิยมในไทย แต่หากมองย้อนกลับไปในยุคทศวรรษ 1960 จะพบว่าเกาหลีใต้เป็นเพียงประเทศเกษตรกรรมที่ยากจน ด้วยระดับรายได้ประชาชาติ 87 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนในปี 2505 (ค.ศ.1962) เท่านั้น แต่ได้ก้าวกระโดดขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนในปี 2538 (ค.ศ.1995) หรือภายในเวลา 33 ปี ด้วยความน่าสนใจดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ศึกษาถึงพัฒนาการของความสำเร็จของเกาหลีใต้ และบทเรียนที่ธุรกิจ SMEs ไทยน่าจะสามารถนำมาปรับใช้ได้ ซึ่งพบว่ามีประเด็นสำคัญดังนี้


ภาคอุตสาหกรรมเติบโตก้าวกระโดด ... จากผู้รับเทคโนโลยี สู่ผู้พัฒนาเทคโนโลยี

     หัวใจสำคัญของพัฒนาการของภาคอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้ คือ “การพัฒนาแบบย้อนรอย” ของกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (แชโบล) กล่าวคือ แทนที่จะเป็นการ “วิจัย – พัฒนา – วิศวกรรม” (Research – Development – Engineering) กลับเป็น “วิศวกรรม – พัฒนา – วิจัย” กล่าวคือ เกาหลีใต้เริ่มทำการผลิต (วิศวกรรม) โดยใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูปของต่างชาติก่อน แล้วจึงพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีที่ได้รับมานั้น และสุดท้ายจึงทำการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมเป็นของตนเอง ด้วยวิธีการดังกล่าวนับเป็นทางลัดที่สำคัญของเกาหลีใต้ที่ทำให้สามารถพัฒนา ภาคอุตสาหกรรมได้ในเวลาอันสั้น จนก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชาติหนึ่งของโลกในปัจจุบัน โดยอุตสาหกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ เทคโนโลยี การผลิตจอภาพ (Display) ซึ่งใช้ในโทรทัศน์จอแบนและเครื่องมือสื่อสาร


     ทั้งนี้ ลำพังเพียงการใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูปนั้นมิอาจทำให้เกาหลีใต้ผงาดขึ้นเป็น ประเทศอุตสาหกรรมแนวหน้าของโลกได้เช่นปัจจุบัน แต่เส้นทางการ พัฒนาของเกาหลีใต้ยังประกอบไปด้วยอีกหลายปัจจัยที่คอยสนับสนุน อันได้แก่ ภาครัฐบาล ซึ่งมีบทบาทสูงโดยเฉพาะในยุค 1960 ต่อเนื่องถึงยุค 1970 ด้วยการสร้างแชโบล และให้การสนับสนุนแชโบลในหลายด้าน เช่น เงินอุดหนุนพิเศษ เพื่อให้แชโบลมีเงินทุนเพียงพอทั้งในการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อการประหยัดต่อ ขนาด และเพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการวางนโยบายที่มีผลต่อการพัฒนาแชโบลในระยะต่อๆ มา เช่น การเพิ่มงบประมาณทางการศึกษาใน ทุกระดับชั้น ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานความรู้ที่แข็งแกร่งแก่ประชากรของประเทศ และได้กลายเป็นทรัพยากรอันมีค่าในระยะของการพัฒนาและการวิจัยเมื่อแชโบ ลต่างๆ ได้ก้าวผ่านระยะของการใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูป นอกจากนั้น ยังได้กำหนดนโยบายมุ่งเน้นการส่งออก ซึ่งมีอิทธิพลต่อแชโบลต่างๆ โดยอาศัยเงื่อนไขด้านเงินอุดหนุน รวมถึงสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลกับแชโบล เพื่อให้แชโบลได้พยายามผลักดันการเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในเวลา อันสั้น นอกจากนั้น อีกปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของเกาหลีใต้ ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยสงครามเกาหลีในปี 2493 – 2496 (ค.ศ. 1950-1953) ทำให้เกิดการหลอมรวมกันทางสังคมขึ้นจากการที่คนหนุ่มสาวต้องร่วมรับรู้ ประสบการณ์สงครามร่วมกันเป็นเวลานาน และเมื่อสงครามสิ้นสุด เกาหลีใต้ก็สามารถแปรความเสียหายย่อยยับจากสงครามเกาหลี เป็นความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาประเทศ ซึ่งสอดรับกับนิสัยขยันขันแข็งและหมั่นแสวงหาความรู้ของคนเกาหลีใต้


ฟื้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง … ด้วยกระแสวัฒนธรรมเกาหลี

     เส้นทางการพัฒนาของเกาหลีใต้ต้องสะดุดลงอีกครั้งในปี 2540 (ค.ศ.1997) จากวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียที่กระทบต่อภาคการเงินของเกาหลีใต้ อย่างรุนแรงจนต้องขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยภายหลังวิกฤต เกาหลีใต้ได้จัดตั้งองค์การวัฒนธรรมและสารัตถะเกาหลี (Korea Culture and Content Agency – KOCCA) ขึ้นในปี 2544 (ค.ศ.2001) เพื่อส่งเสริมให้วัฒนธรรมเกาหลีเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ มากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศ ได้โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนมากและสามารถสร้างอิทธิพลในต่างแดนได้โดยไม่ต้อง เผชิญการต่อต้านด้านการเมืองการปกครอง โดยภารกิจของ KOCCA คือ การส่งเสริมให้เนื้อหาสาระความเป็น ชาติเกาหลี หรือ Korea Content สอดแทรกลงไปในสื่อบันเทิงต่าง ๆ ของเกาหลีที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ และดนตรี เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการสร้างและ พัฒนาบุคลากรให้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการผลิตสื่อต่างๆ รวมไปถึงการทำการตลาดและการผลักดันการส่งออกวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในเอเชีย ดังเห็นได้จากความนิยมในภาพยนตร์ เพลง และละครเกาหลีที่แผ่ขยายไปทั่วเอเชีย


ความสำเร็จของเกาหลีเป็นแบบอย่างการพัฒนา (Model) ของประเทศกำลังพัฒนา

     เมื่อมองย้อนไปถึงเส้นทางการพัฒนาของเกาหลีใต้ ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเกาหลี (ทศวรรษ 1960) จนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ยุคต่างๆ ในการพัฒนาของเกาหลีใต้เป็นไปในลักษณะของการผสมผสานกันระหว่างกลยุทธ์หลาย รูปแบบ เริ่มตั้งแต่ยุคแรกที่เป็นการใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูปด้านอุตสาหกรรมจากทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เพื่อเป็นการ “เรียนทางลัด” สู่การฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็เร่งลงทุนด้านการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาขั้นต่อไป ซึ่งได้ถูกนำออกมาใช้ในระยะที่สองซึ่งเป็นช่วงที่เทคโนโลยีสำเร็จรูปถูกใช้ จนเต็มศักยภาพ ทำให้เกิดการต้องเร่งเรียนรู้เทคโนโลยีที่รับการถ่ายทอดมา โดยอาศัยพื้นฐานการศึกษาที่สั่งสมไว้1 หลังจากเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จึงเข้าสู่ระยะที่สาม คือการคิดค้น และพัฒนาขึ้นเอง ดังเช่นการที่บริษัทเกาหลีใต้บางบริษัทสามารถเป็นผู้นำของโลกในบาง อุตสาหกรรมได้ เช่น โทรทัศน์จอแบน โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ในระยะหลังๆ โดยเฉพาะหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 (ค.ศ.1997) เกาหลีใต้เริ่มพัฒนาจากการมุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรม สู่การเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ผสมผสานการตลาดมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ขณะเดียวกัน ก็มีการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างจริงจังอีกด้วย


     จากแบบอย่างความสำเร็จของเกาหลีใต้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าว ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียหลายประเทศกำลังพยายามยึดเกาหลีใต้ เป็นต้นแบบการพัฒนาในแง่ของการส่งเสริมวัฒนธรรม เช่น กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ โดยเฉพาะเวียดนามที่มีความสนใจเป็นพิเศษจนกระทั่งมีการส่งข้าราชการไปดูงาน ในเกาหลีใต้หลายครั้ง ขณะเดียวกัน ในประเทศไทย ก็เริ่มมีการเติบโตของกลุ่มบรรษัทเอกชนขนาดใหญ่ในแบบของ “แชโบล” เช่นกัน


ถอดบทเรียนที่อาจปรับใช้เพื่อการพัฒนาของธุรกิจ SMEs ในไทย

     1. ผู้ผลิตในเกาหลีใต้ไม่หยุดนิ่งอยู่กับการใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูป หากแต่มีความกระตือรือร้นที่จะก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ซึ่งผู้ ประกอบการ SMEs ไทยอาจเริ่มโดยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเป็นบางส่วน เช่น พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต OEM ที่เคยรับจ้างผลิตให้ประหยัดต้นทุนการผลิตมากขึ้น จากนั้นจึงพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเองต่อไป โดยในปัจจุบัน มีหลายหน่วยงานภาครัฐที่คอยสนับสนุน เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่เป็นระยะ นอกจากนั้น ในส่วนของเงินทุน ผู้ประกอบการมีหลายทางเลือก ทั้งสถาบันการเงินของเอกชนและรัฐบาล ซึ่งต่างก็มีการนำเสนอบริการทางการเงิน ควบคู่กับบริการให้คำปรึกษาทางการเงิน

     2. ภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นความรู้ของแรงงานค่อนข้างมาก ซึ่งสะท้อนความสำคัญของการศึกษา ต่อการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในกรณีของผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจไม่สามารถลงทุนด้านการศึกษาของแรงงานได้ด้วยตนเอง (ซึ่งต่างจากผู้ผลิตรายใหญ่ที่สามารถสร้างสถาบันอบรมเทคนิคเฉพาะทางได้) อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการอาจส่งแรงงานเข้าร่วมการฝึกอบรมที่จัดโดยหน่วยงานเครือข่าย ของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น สถาบันเหล็กและเหล็กกล้า สถาบันไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ สถาบันไทย-เยอรมัน เป็นต้น ซึ่งมีการจัดฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีอยู่เป็นระยะๆ

     3. ภาคอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการทำการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตราสินค้า ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้มาก โดยปัจจุบัน มีตราสินค้าของเกาหลีใต้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 2 รายที่อยู่ใน 100 อันดับแรกของโลก (จากการจัดอันดับมูลค่าเพิ่มตราสินค้าโดย Millward Brown ปี 2554) และยังมีตราสินค้ายานยนต์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งจากแบบอย่างดังกล่าว ผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจนำเอาแนวคิดด้านตราสินค้ามาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนในส่วนที่ อยู่นอกเหนือการผลิตตามคำสั่ง (OEM) เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน

     4. รัฐบาลเกาหลีใต้มีบทบาทมากในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้ ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้เติบโตแข็งแกร่งตราบจนปัจจุบัน
1) ในด้านการสนับสนุน รัฐบาลเกาหลีใต้สนับสนุนอย่างเต็มที่ในปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนา ที่ภาคเอกชนไม่สามารถจัดหามาได้ด้วยตนเอง เช่น จัดสรรเงินทุนสำหรับการพัฒนาและการวิจัยของ แชโบลในระยะเริ่มต้น หรือการลงทุนขยายการศึกษาทั่วประเทศเพื่อสร้างฐานความรู้ให้กับประชากรของ ประเทศ ซึ่งกลายเป็นแรงงานที่มีคุณภาพให้แก่แชโบลต่างๆ ในระยะถัดไป

2) ในด้านการสร้างแรงท้าทาย รัฐบาลเกาหลีใต้มีการสร้างเงื่อนไขที่ท้าทายให้แชโบลต้องเร่งพัฒนาตนเองอยู่ เสมอ โดยใช้เงื่อนไขจูงใจด้านเงินอุดหนุน หรืออาศัยสายสัมพันธ์ใกล้ชิดที่มีต่อกันในการกำหนดแนวทาง เช่น ในปี 2516 (ค.ศ.1973) รัฐบาลได้ให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีเสนอแผนการผลิตรถยนต์ต่อรัฐบาล โดยต้องเป็นรถยนต์ที่ออกแบบใหม่ ขนาดเครื่องยนต์ เล็กกว่า 1,500 ซีซี และใช้ชิ้นส่วนในประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ด้วยต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 50,000 คัน/ปี โดยจะต้องออกจำหน่ายภายในปี 2518 (ค.ศ.1975) ซึ่งในครั้งนั้นทำให้บริษัทหนึ่งเกิดการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี โดยสามารถเสนอแผนผลิตรถยนต์ที่กำลังการผลิต 80,000 คัน/ปี จากเดิมที่ในขณะ นั้นผลิตได้เพียง 5,436 คัน/ปีเท่านั้น2
      เมื่อเทียบเคียงกับสถานการณ์ของ SMEs ไทย พบว่า ส่วนใหญ่รัฐบาลไทยยังมีบทบาทเป็นการช่วยเหลือด้านเงินทุน และมาตรการในยามเกิดปัญหาหรือวิกฤต เช่น ผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ ผลกระทบจากอุทกภัย แต่มาตรการในการพัฒนา SMEs ให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีของตนเองยังมีน้อย ดังนั้น เพื่อเกื้อหนุนการเติบโตของธุรกิจ SMEs ไทยให้พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ภาครัฐจึงควรมีบทบาทที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา สำหรับบทบาทเฉพาะหน้า นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มไม่สดใสนักจากผลกระทบของการชะลอตัวใน เศรษฐกิจโลก อีกทั้งยังมีผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ซึ่งกระทบต่อสภาวะการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs อย่างมาก โดยภาครัฐอาจช่วยเหลือในด้านเงินทุนเพื่อพัฒนา SMEs ด้วยการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สำหรับบทบาทในระยะยาว ควรสร้างแผนปฏิบัติการและผลักดันให้ได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการอุดหนุนส่งเสริมในปัจจัยที่ SMEs ไม่สามารถลงทุนด้วยตนเองได้ เช่น ในด้านเงินกู้เพื่อพัฒนานวัตกรรม การจัดตั้งสถาบันวิจัยที่สามารถทำหน้าที่เป็นที่พึ่งพิงด้านเทคโนโลยีแก่ SMEs ที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ และการลงทุนด้านการศึกษาของแรงงานในระดับประเทศ ขณะเดียวกันภาครัฐก็ควรสร้างแรงผลัก ดันให้ธุรกิจ SMEs เกิดการพัฒนาออกนอกกรอบความสำเร็จเดิมๆ เช่น การวางเป้าหมายการพัฒนาด้านนวัตกรรมเพื่อแลกกับสิทธิประโยชน์เช่นด้านภาษี หรือเงินอุดหนุน เป็นต้น นอกจากนั้น ภาครัฐควรเร่งส่งเสริมธุรกิจ SMEs ทางเลือกที่ไทยมีศักยภาพ ที่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมหลักที่ต่างชาติลงทุนในไทย เช่น พลังงานชีวภาพชีวมวล อุตสาหกรรมการเกษตร และ อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นการช่วยสร้างรากฐานด้านเทคโนโลยีแก่ธุรกิจ SMEs ไทยในอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับทรัพยากรที่ไทยมีและเพื่อเป็นการปรับตัวต่อแนว โน้มการกระจายฐานการผลิตของญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมหลัก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เหล็กและโลหการที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไปด้วย


คลิกเพื่อลงทุน
--------------------------------------------
1
โดยตัวอย่างได้แก่การที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของเกาหลีใต้ได้สั่งให้วิศวกรถอดประกอบรถยนต์ต้นแบบเพื่อศึกษาเทคโนโลยีที่รับถ่ายทอดมา
2
บัญชา ธนบุญสมบัติ. เกาหลีใต้ "ก้าวหน้า" และ "ก้าวพลาด" อย่างไร ในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม? นิตยสารสารคดี ปีที่ 15 ฉบับที่ 179 มกราคม 2543. 74-87

ป้ายกำกับ:

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมื่อประเทศไทยเป็นแหล่งฟอกเงิน

เมื่อประเทศไทยเป็นแหล่งฟอกเงิน

              ด้วยผมเองสนใจเรื่องการเงินอยู่พอสมควรและติดตามข่าวเศรษฐกิจของไทยและโลกเป็นประจำแม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการวิเคราะห์เศรษฐกิจดังนักวิชาการเมืองไทย แต่จากมุมมองของผมที่ได้พบกับข่าวที่ประเทศไทยอยู่ในประเทศสุ่มเสี่ยง (โดนแบน) จากประเทศต่าง ๆ ว่าเป็นแหล่งฟอกเงินอันน่าจับตา โดยไปอยู่ในกลุ่มประเทศ ซึ่งแทบไม่นึกถึงว่าเราจะถูกจัดกลุ่มกับประเทศเหล่านั้น เพราะประเทศเราเป็นประเทศกำลังพัฒนามานานมากแล้ว และมีสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือปปง. นั้นมาหลายปีแล้วเช่นกัน ซึ่งก็นานเกินพอที่จะสามารถจัดการเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ดีแล้ว เพราะกระบวนการติดตามนั้นมีมาตรฐานสากลที่แทบประเทศดำเนินการอยู่แล้ว เราทำไมไม่ได้ดำเนินการตามนั้น หรือประเทศเราต้องการเงิน (สกปรก) เหล่านั้นมาลงทุนในประเทศไทยหรืออย่างไร จริงอยู่ว่าการติดตามการฟอกเงินมีกระบวนการที่ซับซ้อน แต่หากเงินที่มีความผิดปกติส่วนใหญ่ล้วนมีจำนวนมาก และสามารถตามหาแหล่งที่มาของเงินได้ไม่ยากเท่าที่ควรจะเป็น ผมอาจจะวิจารณ์เกินความเป็นจริงไปสักหน่อย แต่ผลที่ประเทศไทยไปอยู่ในกลุ่มประเทศซึ่งดูรายชื่อประเทศแล้วผมแทบรับไม่ได้กับการถูกจัดกลุ่มนี้ ซึ่งเวียดนามยังดีกว่าประเทศเราอยู่มาก และไม่ต้องพูดถึงประเทศแถบเอเชีย หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรานับว่าแย่สุดในการดูแลการฟอกเงินในประเทศไทย ทำให้คนที่รวยจากสิ่งเลว ยิ่งรวยและสร้างปัญหามาขึ้นไปอีก ซึ่งคนเหล่านี้เป็นคนที่รวยแล้วไม่รู้สึกพอ และต้องการมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เกิดวังวนของการเป็นมาเฟียเจ้าพ่อมากขึ้นเรื่อย ๆ ความป่าเถื่อนจะต้องมี แล้วหากเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ด้วยความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อปัญหานี้ส่งผลให้ภาพลักษณ์และส่งผลกระทบต่อปัญหาอื่นแบบสายยาว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยความหวังดีต่อประเทศไทย

ป้ายกำกับ:

ออม ลงทุน มั่งคั่ง ตอนที่ 1

ออม ลงทุน  มั่นคง ตอนที่ 1
       ในชีวิตของเราตั้งแต่แรกเกิดจนถึงแก่เฒ่า ล้วนมีวิถีการดำเนินชีวิตที่ต่างกันออกไปตามวัยและสถานะ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราได้เน้นหนักและถูกสั่งสอนกันมา นั่นก็คือการหาเลี้ยงตัวเองให้รอด คำว่ารอดหมายถึงรักษาชีวิตตัวเองให้รอดในสังคมที่เปลี่ยนไป ในสถาบันการศึกษาถูกสอนให้เราทำงานเพื่อแลกกับเงิน ซึ่งนำเงินเหล่านี้มาซื้อสิ่งของที่ต้องการ หรือแม้กระทั่งนำเงินมาใช้จ่ายเพื่อบางสิ่งที่สังคมคาดหวังให้เรามี  โดยไม่ได้สอนให้เรารู้จักการลงทุน ไม่สอนการออม การสร้างชีวิตด้วยตัวเอง ลดการพึ่งพาผู้อื่นให้มาก แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ยิ่งสังคมซับซ้อนวุ่นวายมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งทำให้อาชีพดูยุ่งยาก และต้องใช้ทักษะที่ต้องเรียนกันมากขึ้น  ผมยังไม่แน่ใจว่าหากโลกใบนี้เกิดปรากฎการณ์ที่โลกใบนี้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยี และสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและเป็นสิ่งที่เกิดชีวิตออกไป ผมก็ไม่แน่ใจว่าคนสมัยนี้จะอยู่กันได้ไหม รักษาตัวเองได้รอดไหม แล้วสิ่งที่สอนกันนั้นถูกทางแล้วหรอ ทุกชีวิตต้องใช้เงิน เงินเป็นสิ่งที่จำเป็นมากกว่าเทคโนโลยีเสียด้วยซ้ำ แต่ทำไม เพราะอะไรเราไม่เคยสอนการใช้เงิน การสร้างเงิน พัฒนาเงินให้มันมีมากขึ้น ซึ่งควรจะควบคู่กันไปกับการเรียนการสอนที่เน้นหนักไปที่สร้างอาชีพและสร้างความรู้เพื่อการประกอบการ สมควรแล้วที่จะต้องกลับมาทบทวบว่าจริง ๆ แล้วการศึกษาที่เป็นอยู่ทุกวันนี้มันสอนกันไปเพื่อเป็นลูกจ้างใช่หรือไม่ (ใช่แน่นอน) และนั่นแหละบางคนก็ไหวตัวทัน การเป็นลูกจ้างเป็นก้าวแรกของการออม และนำเงินออมนั้นมาลงทุนเพื่อลดการทำงาน และทำให้เงินมันเจริญเติบโตด้วยตัวมันเอง และเราก็มีเวลามากพอที่จะลงทุนในชีวิตของตัวเราเอง ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจกันหรอกว่าตายไปแล้วจะมีชีวิตหลังความตายหรือไม่ เพราะความไม่แน่ใจและไม่มั่นใจนี่เองทำให้เราต้องสร้างกรอบที่เรียกกันว่า "ความดี" มาเป็นเครื่องวัดว่าตายไปแล้วเธอจะสุขสบายหรือไม่  หากเรามั่นใจว่าชีวิตหลังความตายมีจริงและเป็นไปตามสิ่งที่เราได้สร้างเหตุแห่งผลไว้แล้วในปัจจุบัน เราทำไมมุ่งจัง มุ่งไปที่การเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ยังมีความทุกข์อยู่เต็มหัวใจ นอกจากเราจะต้องออมเงินเพื่อการใช้และลงทุนในปัจจุบันชาติของเราแล้วเราต้องลงทุนเพื่อชาติต่อๆ ไป ดังที่ควรจะเป็น  บางคนทำงานทั้งชีวิต จนแก่และตายไปจนไม่รู้ตัว ถึงแม้จะสร้างผลงานอันตระกานตาแต่สุดท้ายแล้วมันก็จะสูญสลายไปดังเช่นผู้ที่ผลิตมันขึ้นมา หากได้เข้าใจสิ่งที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายไม่ ดังนั้นเราควรออมและลงทุนเพื่อเป็นอยู่ในชาตินี้อย่างอิสระ และตลอดไป


ป้ายกำกับ: , ,

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

นโยบายบ้านหลังแรก...ยิ่งลักษณ์ 1

      ท่ามกลางความหวังของประชาชนคนไทย ชาวบ้านไร้เรือน ไร้ชายคาอาศัย ด้วยความฝันว่าสักวันหนึ่งจะมีบ้านดี ๆ ในชีวิตสักหลัง นโยบาย บ้านหลังแรก ช่างเป็นนโยบายที่เย้ายวนชวนเชื่อเหลือเกินว่าหากเลือกพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลแ้ล้ว ชาวบ้านจน ๆ จะได้เป็นเจ้าของบ้านกะเค้าสักที แต่เมื่อเห็นประกาศเงื่อนไขของการเข้าร่วมโครงการต้องตกใจ ผิดหวังอย่างไม่เหลืออะไรให้หวังอีกแล้ว ผมแทบช๊อคว่ารัฐบาลคิดได้แค่นี้เองหรอ คิดแค่จะคืนเงินให้กับคนที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปเท่านั้นหรือ แล้วอย่างนี้ทำไปเพื่ออะไร ในเมื่องคนที่เงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไปแทบไม่ต้องคิดเลยว่าจะมีบ้านกับเข้าได้หรือไม่ มันได้อยู่แล้ว ไม่ต้องนึกอะไรให้มาก ผมยังนึกถึงโครงการบ้านหลังแรกของ รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ ที่ให้ ธอส ให้กู้ซื้อบ้านหลังแรกในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ยังรู้สึกมีศักดิ์ศรีของการกู้อยู่บ้าง นึกว่านโยบายนี้จะช่วยให้คนจนมีบ้านอยู่เหมือนกับโครงการบ้านเอื้ออาทรในสมัยรัฐบาลของคุณทักษิณ ในการอ่านเนื้อความของเงือนไขของโครงการผมแทบไม่อยากเชื่อสายตาตัวเองว่า นโยบายนี้ทำไปเพื่ออะไร เพื่อคนที่รวยอยู่แล้ว ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คน ผมเชื่อแน่ว่าคนที่ได้ประโยชน์ย่อมยิ้มไว้รออยู่แล้ว แล้วนโยบายอะไรที่ช่วยให้คนจนได้มีบ้านเป็นของตัวเองซะที หรือยังไงก็ต้องรอให้เงินเดือนไปถึง 20,000 ก่อนใช่หรือไม่ แม้กระทั่งที่จะขึ้นเงินเดือนข้าราชการไปเป็น 15,000 ก็ยังไม่สามารถเข้าร่วมโครงการบ้านหลังแรกนี้ได้เลย แล้วบ้านหลังแรกสำหรับคนที่มีเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไปนี้จะมีสักกี่คนที่คนเงินเดือน 20,000 บาทแล้วยังไม่มีบ้านอยู่อาศัยเลย ผมยังเฝ้ารอให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน ลองแชร์ข้อมูลต่อกันบ้างครับ ว่าความจะช่วยเหลือคนที่มีปัญหาอย่างไร ไม่ใช่ไปช่วยเหลือคนที่ไม่มีปัญหา หรือมีปัญหาน้่อยอยู่แล้ว หากคิดฝันไปถึงบ้านหลังละ 5 ล้านยิ่งไปเรื่องใหญ่นักสำหรับคนยากคนจน ทำไมไปกำหนดราคาบ้านไว้สูงซะขนาดนั้นเพื่ออะไร ผมหวังต่อไปอีกว่าจะมีการทบทวนโครงการนี้ใหม่ ให้รอบคอบ หรือจะไม่ทันกาลอะไรเสียแล้ว รู้สึกแย่กับความคาดหวังต่อรัฐบาลในการช่วยเหลือคนที่ต้องการความช่วยเหลือเสียเหลือเกิน นี่หรือรัฐบาลที่มาจากคนรากหญ้า

ป้ายกำกับ:

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐี..หรือยาจก ปั้นหน้า

 เศรษฐี หรือยาจกปั้นหน้า

        เหลืออีกไม่กี่ชั่วโมงจะเป็นเวลาที่สหรัฐอเมริกาต้องชำระหนี้ อันอาจจะมีการผิดชำระได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้อยู่มากที่จะไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ภาระของการเป็นหนี้ที่สูงมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ทำให้ต้องรัฐบาลแบกรับภาระอันเกิดจากบริโภคนิยมและการทหารที่ประกาศศักด์ดาอย่างไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมที่ไหนในโลกใบนี้ การกำหนดทิศทางเดินของตนเองที่ผิดพลาดมาแต่ต้นจึงนำไปสู่วิกฤตอันน่ากลัวของนักเศรษฐกิจ ทั่วโลก เพราะสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งทีใช้ทรัพยากรและบริโภคสินค้ามากจนประเทศต่าง ๆ  ที่ีมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศนี้ต้องร้อน ๆ หนาวไปตาม ๆ กัน เหมือนเชื้อโรคที่สามารถติดต่อได้ก็ไม่ปาน สิ่งหนึ่งที่จะเป็นการป้องกันตัวเองของประเทศต่าง ๆ คือ เตรียมที่จะเลือกตลาดใหม่ในการส่งออก เลือกที่จะไม่ถือครองพันธบัตรสหรัฐอเมริกา เลือกที่จะไม่ลงทุนที่สุ่มเสี่ยงกับประเทศนี้ นี่คือการปกป้องตัวเองแบบกำปั้นทุบดินที่สุดแล้ว

แต่อีกมุมมองหนึ่ง ผมเห็นว่าประเทศนี้ยังมีศักยภาพพอที่จะฟื้นฟูตัวเองให้กลับมาเป็นเศรษฐีที่แท้จริงได้อีกครั้ง เพียงแต่ประเทศนี้ต้องมีรัฐบาลที่กล้าหาญกว่านี้ที่จะไม่ก่อภาระหนี้ขึ้นใหม่ มีนโยบายที่จะชำระหนี้ให้หมด โดยกลวิธีต่าง ๆ ตามที่จะนึกได้ และเป็นกลไกให้ประเทศฟื้นตัวด้วย นั่นหมายถึงประชาชนคนสหรัฐต้องมีความคิดที่เปลี่ยนไป โดยต้องอาศัยจุดแข่งของประเทศนี้อยู่ ซึ่งก็มีอยู่มาก ส่วนใหญ่แล้วนั้น อยู่ที่ความเป็นคนอเมริกัน คือ การไม่ยอมแพ้ การต่อสู้ ซึ่งผมเ้องก็ไม่แน่ใจว่าอเมริกันชนในสมัยนี้ยังเหมือนเดิมกับสมัยก่อนหรือไม่ ด้วยภาพลักษณ์ที่ใคร ๆ มองสหรัฐว่าเป็นเศรษฐีมีเงิน แต่ความจริงอาจจะเป็นเศรษฐีในกลุ่ม ๆ นักลงทุน แต่รัฐบาลยากจนมากที่สุดในโลกก็ว่าไ้ด้ เพราะวัดความมั่งคั่งจากทรัพย์สิน และหนี้สินอาจจะต้องขายกิจการของรัฐในหลายๆ อย่างจึงจะเพียงพอต่อการชำระหนี้ทั้งหมด

ประเทศที่จะต้องจับตามองว่าจะกลายเป็นเศรษฐีตัวจริง ปรับโปกัสไปที่ประเทศจีน ซึ่งเป็นเ้จ้าหนี้ให้ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาด้วย ความเสี่ยงของเจ้าหนี้ก็ย่อมมี ในเมื่อลูกหนี้กำลังจะผิดนัดกาำรชำระหนี้ ความผันแปรของโลกจึงจะเกิดขึ้น เพราะคำว่า "เงิน"  ต่อไปคงจะมีการขายประเทศเพื่อชำระหนี้ ต่อไปคงไม่ต้องมีสงครามทางอาวุธ แต่จะเป็นสงครามทางการเงิน และเป็นสงครามปลดแอกจากความเป็นประเทศราช (ต้องส่งดอกเบี้ย)


ป้ายกำกับ: , ,